บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลักการทำข้อสอบ



หลักทั่วไป
1) อ่านโจทย์
2) อ่านตัวเลือกของคำตอบ
สำหรับผมเอง เป็นความสามารถเฉพาะตัว เนื่องจากอ่านหนังสือได้เร็วมาก ผมจึงมักจะอ่านตัวเลือกที่เป็นคำตอบก่อน แล้วจึงไปอ่านโจทย์
การทำแบบนี้ทำให้สามารถลดเวลาในการทำข้อสอบได้มาก
3) หาข้อผิด 3 ข้อ
4) กาข้อที่ถูกต้อง

หลักการทำข้อสอบเติมคำ
1) ลองนำคำในตัวเลือกไปใส่ในช่องว่าง แล้วอ่านดูประโยคว่า ได้ความหมายที่ถูกต้องหรือไม่
2) ทำตามคำสั่งของโจทย์ ที่ใช้เวลาในการทำน้อยที่สุด

คำแนะนำ
การทำข้อสอบเติมคำนี้ นอกจากความรู้ทางด้านภาษาไทยแล้ว ยังจะต้องมีความรู้รอบตัวให้มาก ถึงจะทำข้อสอบได้ เพราะ ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องที่นำมาตั้งเป็นคำถาม เราก็จะทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น ก่อนที่จะสอบบรรจุเข้ารับราชการ ควรจะอ่านหนังสือทุกเล่มที่ขวางหน้า คิดด้วยหลักเหตุผลว่า ถ้าเราสอบเข้าทำงานได้ เราจะมีกินมีใช้ตลอดไป (ถ้าไม่โดนไล่ออกเสียก่อน)
การอ่านหนังสือทุกอย่างที่ขวางหน้านั้น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด

ตัวอย่างที่ 1  คณะกรรมการขาราชการพลเรือนไดพิจารณาเห็นชอบให ................. ตําแหนงเจาหนาที่การทูต 4 ในฐานะเปนผูชํานาญงานเปนการพิเศษ ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เปนตนไป
ก. พิจารณา
ข. ระบุ
ค. แตงตั้ง
ง. กําหนด

วิเคราะห์
เราต้องลองนำคำในตัวเลือก ใส่ลงไปในช่องว่าง แล้วอ่านดูว่า ได้ความหมายหรือไม่ ดังนี้

ข้อ ก
คณะกรรมการขาราชการพลเรือนไดพิจารณาเห็นชอบใหพิจารณา ตําแหนงเจาหนาที่การทูต 4 ในฐานะเปนผูชํานาญงานเปนการพิเศษ ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เปนตนไป

ข้อ ข.
คณะกรรมการขาราชการพลเรือนไดพิจารณาเห็นชอบให้ ระบุ ตําแหนงเจาหนาที่การทูต 4 ในฐานะเปนผูชํานาญงานเปนการพิเศษ ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เปนตนไป

ข้อ ค.
คณะกรรมการขาราชการพลเรือนไดพิจารณาเห็นชอบให แตงตั้ง ตําแหนงเจาหนาที่การทูต 4 ในฐานะเปนผูชํานาญงานเปนการพิเศษ ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เปนตนไป

ข้อ ง.
คณะกรรมการขาราชการพลเรือนไดพิจารณาเห็นชอบให้ กําหนด ตําแหนงเจาหนาที่การทูต 4 ในฐานะเปนผูชํานาญงานเปนการพิเศษ ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เปนตนไป

เมื่ออ่านข้อความทั้ง 4 ข้อความข้างต้นแล้ว จะเห็นว่า ข้อ ง. นั้น มีความหมายที่ครบถ้วน จึงน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ดังนั้น คำตอบที่ถูกในข้อนี้คือ ข้อ ง.

ตัวอย่างที่ 2  สหประชาชาติใหความเห็นวา ประเทศไทยเปนตัวอยางที่ดีในเรื่องการควบคุม..................การเกิดของประชากร
ก. คุณภาพ
ข. ขนาด
ค. อัตรา
ง. ปริมาณ

วิเคราะห์
เราต้องลองนำคำในตัวเลือก ใส่ลงไปในช่องว่าง แล้วอ่านดูว่า ได้ความหมายหรือไม่ ดังนี้

การควบคุม คุณภาพ การเกิดของประชากร
การควบคุม ขนาด การเกิดของประชากร

จะเห็นว่า ข้อ ก. กับ ข้อ ข. เป็นไปไม่ได้แน่ๆ

การควบคุม อัตรา การเกิดของประชากร
การควบคุม ปริมาณ การเกิดของประชากร

สำหรับข้อความ 2 ข้อความข้างต้นนั้น  ปกติภาษาไทยเราจะใช้ “การควบคุม อัตรา การเกิดของประชากร” เราจะไม่ใช่ “ปริมาณการเกิด”

ดังนั้น คำตอบที่ถูกในข้อนี้คือ ข้อ ค.

ตัวอย่างที่ 3   ระบบ หมายถึง ระเบียบที่เกี่ยวกับการรวมสิ่งตางๆ ที่มีลักษณะที่ซับซอนให......... กัน เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ
ก. เกี่ยว
ข. ประสาน
ค. ผูกพัน
ง. ประสม

วิเคราะห์
เราต้องลองนำคำในตัวเลือก ใส่ลงไปในช่องว่าง แล้วอ่านดูว่า ได้ความหมายหรือไม่ 

คำตอบในข้อ ก. กับ ค. คือ “เกี่ยวกัน” กับ “ผูกพันกัน” นั้น เป็นไปไม่ได้แน่ๆ จึงเหลือ 2 ข้อที่ต้องนำมาพิจารณา ดังนี้

ข้อ ข.
ระบบ หมายถึง ระเบียบที่เกี่ยวกับการรวมสิ่งตางๆ ที่มีลักษณะที่ซับซอนใหประสาน กัน เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ

ข้อ ง.
ระบบ หมายถึง ระเบียบที่เกี่ยวกับการรวมสิ่งตางๆ ที่มีลักษณะที่ซับซอนให้ ประสม กัน เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ

ทั้ง 2 ข้อความข้างต้น ข้อ ข. ถูกต้องมากกว่า เพราะ คำว่า “ประสมกัน” นั้น สิ่งที่มาประสมกันต้องรวมเข้าไปเนื้อเดียวกัน ซึ่งระบบนั้น เหมาะสมกับคำว่า “ประสานกัน” มากกว่า

ดังนั้น คำตอบที่ถูกในข้อนี้คือ ข้อ ข.

ตัวอย่างที่ 4  บรรทัดฐาน มีความหมายวา ............. สําหรับยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติ
ก. แบบอยาง
ข. วิธีการ
ค. จุดมุงหมาย
ง. แบบแผน

วิเคราะห์
เราต้องลองนำคำในตัวเลือก ใส่ลงไปในช่องว่าง แล้วอ่านดูว่า ได้ความหมายหรือไม่ 

ข้อ ก.   บรรทัดฐาน มีความหมายวแบบอยาง สําหรับยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติ
ข้อ ข.   บรรทัดฐาน มีความหมายววิธีการ สําหรับยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติ
ข้อ ค.   บรรทัดฐาน มีความหมายวจุดมุงหมาย สําหรับยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติ
ข้อ ง.   บรรทัดฐาน มีความหมายวแบบแผน สําหรับยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติ

ในทางภาษาศาสตร์นั้น ทั้ง 4 ประโยคมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสิ้น  อย่างไรก็ดี พจนานุกรมกำหนดความหมายของบรรทัดฐาน ไว้ดังนี้

บรรทัดฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.

ดังนั้น ข้อ ง. จึงถูกต้อง

ขออธิบายเพิ่มเติมในตัวเลือกเล็กน้อย

ในการออกข้อสอบนั้น  คนออกข้อสอบจะรู้คำตอบที่ถูกต้องอยู่ก่อนแล้ว  ปัญหาของคนออกข้อสอบก็คือ จะออกข้อสอบ “ตัวลวง” อย่างไร ที่จะทำให้คนไม่รู้มากาบ้าง

ในการออกข้อสอบนั้น ถ้าคนสอนทำถูกหมด ข้อสอบนั้นง่ายไป ใช้ไม่ได้ ถ้าคนสอบทำผิดหมด ก็ยากไปใช้ไม่ได้เหมือนกัน

ในข้อ 4 นั้น คนออกข้อสอบ ออกตัวลวง “แบบอย่าง” ในข้อ ก. ไว้ด้วย  ดังนั้น ถ้าไม่รู้อะไรเลย และต้องการจะเดา ก็ควรเดา “แบบอย่าง” หรือ “แบบแผน”

ตัวอย่างที่ 5 ความเจริญของคนจะมีลักษะเปน ............... ที่ไมมีอะไรเปนเครื่องบงบอกใหชัดเจน
ก. ศีลธรรม
ข. หลักธรรม
ค. สัจธรรม
ง. นามธรรม

วิเคราะห์
ในข้อนี้ เมื่อเราอ่านโจทย์และตัวเลือกแล้ว พิจารณาข้อความสุดท้ายที่ว่า “ที่ไมมีอะไรเปนเครื่องบงบอกใหชัดเจน” ข้อความนี้ จะต้องขยายตัวเลือกที่เติมลงไป 

คำ “ที่” นั้น มีพวกพ้องอีก 2 คำคือ “ซึ่ง อัน”  รวมเป็น “ที่ ซึ่ง อัน” เป็นคำสันธาน

คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย

ในโจทย์นั้น ข้อความ “ที่ไมมีอะไรเปนเครื่องบงบอกใหชัดเจน” จะต้องมีความหมายอย่างเดียวกับคำที่ต้องเติมลงไป

ในตัวเลือกทั้ง 4 คำนั้น 3 คำแรกคือ ศีลธรรม หลักธรรม สัจธรรม ต่างก็เป็นคำที่มีความชัดเจนแน่นอน  จึงไม่ใช่คำตอบที่ถูก


ดังนั้น ข้อนี้ ข้อ ง. จึงถูกต้อง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น