บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการเติมคำ ชุดที่ 1


ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

1. เขาสวดมนตอนเขานอนทุกคืนจนเปน  ..............
ก. กิจวัตร
ข. กิจกรรม
ค. กิจธุระ
ง. จรรยา

2. ถาตองการทราบวา เรื่องใดอยูหนาใด ตองดูที่หนา .......................
ก. สารบรรณ
ข. บรรณานุกรม
ค. สารบัญ
ง. ดัชนี

3. ประวัติของคําบางคํา เราสามารถ ................. และวินิจฉัยไดแตเพียง .................
ก. สอบสวน - ราง ๆ
ข. สืบสาว - ราง ๆ
ค. สอบสวน - ลาง ๆ
ง. สืบสาว - ลาง ๆ

4. ดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว ............... แลวยังหอบขาวของ ................ อีกดวย
ก. รุงรัง - กะรุงกะรัง
ข. พะรุงพะรัง - อีนุงตุงนัง
ค. กะรุงกะรัง - พะรุงพะรัง
ง. รกรุงรัง - กะรุงกะรัง

5. ความผิดหวังที่ได................บาง  ทําใหชีวิตมี................ยิ่งขึ้น
ก. ประสบ - รสชาติ
ข. ประสบ - รสชาด
ค. ประสพ - รสชาติ
ง. ประสพ - รสชาด


เฉลย

1. เขาสวดมนตอนเขานอนทุกคืนจนเปน ..............
ก. กิจวัตร
ข. กิจกรรม
ค. กิจธุระ
ง. จรรยา

วิเคราะห์
ข้อนี้ เป็นข้อที่ง่ายสำหรับคนที่อ่านหนังสือมากๆ และเข้าใจคำศัพท์ของคำ เพราะ สำนวนแบบนี้ ใช้คำว่า “กิจวัตร” ดังนี้
เขาสวดมนตอนเขานอนทุกคืนจนเปกิจวัตร
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.

2. าตองการทราบวา เรื่องใดอยูหนาใด ตองดูที่หนา .......................
ก. สารบรรณ
ข. บรรณานุกรม
ค. สารบัญ
ง. ดัชนี

วิเคราะห์
ข้อสอบข้อนี้ค่อนข้างง่าย เพราะ ส่วนใหญ่ทุกคนรู้อยู่แล้ว คำว่า “สารบัญ” ถูกต้อง แต่คนออกข้อสอบต้องการหลอกพวกที่อ่านลวกๆ อ่านแล้วพบข้อที่คิดว่า “ถูก” ก็จะเลือกข้อนั้นเลย ซึ่งก็คงจะเลือกคำว่า “สารบรรณ
สำหรับกติกาการสอบของเรานั้น คือ หาข้อผิดทั้ง 3 ข้อก่อน  ดังนั้น ข้อนี้จึงไม่น่าจะพลาด
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.

3. ประวัติของคําบางคํา เราสามารถ ................. และวินิจฉัยไดแตเพียง .................
ก. สอบสวน - ราง ๆ
ข. สืบสาว - ราง ๆ
ค. สอบสวน - ลาง ๆ
ง. สืบสาว - ลาง ๆ

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ มีช่องให้คำคำ 2 ช่อง มีคำ 2 ชุด คือ สอบสวน กับ สืบสาว  และ รางๆ กับ ลางๆ ที่เรารู้จักคำใดคำหนึ่งก็จะทำให้สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้แคบเข้า
ถ้ารู้จักทั้ง 2 คำ ก็ยิ่งง่ายขึ้น
ดูคำคู่แรกก่อน คือ สอบสวน กับ สืบสาว 
คำว่า สอบสวน นั้นใช้สำหรับตำราวจสวบสวนคนร้ายหรือผู้ต้องหา ดังนั้น ในช่องแรกนั้น คำตอบที่ถูกก็คือ สืบสาว
เมื่อคำแรกคือ สืบสาว แล้ว ข้อที่จะต้องเลือกตอบก็คือ ข้อ ข. หรือ ข้อ ง.  ซึ่งตัวเลือกของคำถามข้อนี้ก็คือ รางๆ
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.

4. ดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว ............... แลวยังหอบขาวของ ................ อีกดวย
ก. รุงรัง - กะรุงกะรัง
ข. พะรุงพะรัง - อีนุงตุงนัง
ค. กะรุงกะรัง - พะรุงพะรัง
ง. รกรุงรัง - กะรุงกะรัง

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ มีช่องให้คำคำ 2 ช่อง มีคำให้เลือกตอบหลายคำ
ในส่วนตัวผมเอง ผมคุ้นเคยกับสำนวนที่ว่า  “หอบข้าวของพะรุงพะรัง” ดังนั้น เมื่อพิจารณาตัวเลือกอื่นด้วยแล้ว  ผมก็เลือก ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
สมมุติว่า เราไม่ค่อยคุ้นเคยกับสำนวน “หอบข้าวของพะรุงพะรัง” เราก็มาลองพิจารณาเลือกตัวเลือกในช่องคำตอบแรกกัน

ข้อ กดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว รุงรัง แลวยังหอบขาวของ ................ อีกดวย
ข้อ ขดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว พะรุงพะรัง แลวยังหอบขาวของ ................ อีกดวย
ข้อ คดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว กะรุงกะรัง แลวยังหอบขาวของ ................ อีกดวย
ข้อ งดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว รกรุงรัง แลวยังหอบขาวของ ................ อีกดวย
เฉพาะในช่องแรกนั้น  คำตอบที่ถูกต้อง น่าจะอยู่กับชุด “รุงรัง, กะรุงกะรัง, รกรุงรัง” มากกว่า เพราะ เป็นปัญหาสำหรับคนออกข้อสอบในการเลือกตัวลวง
ดู ข้อ ง. ก่อน คำว่า “รกรุงรัง” มักจะใช้กับบ้าน ดังนั้น คำตอบที่ถูกน่าจะเป็น ข้อ ก. หรือ ข้อ ค.  เรามาลองใส่ตัวเลือกทั้ง 2 ช่องเพื่อพิจารณา ดังนี้
ข้อ กดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว รุงรัง แลวยังหอบขาวของ กะรุงกะรัง อีกดวย
ข้อ คดูขอทาน คนนั้นซิแตงตัว กะรุงกะรัง แลวยังหอบขาวของ พะรุงพะรัง อีกดวย
จะเห็นว่า ข้อ ก. นั้น อ่านแล้วความหมายดูแปลกๆ และคำที่คล้ายกันคือ “รุงรัง” กับ “กะรุงกะรัง” ไม่น่าจะขยายความความหมายที่แตกต่างได้อย่างนั้น
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.

5. ความผิดหวังที่ได .............. บาง ทําใหชีวิตมี ................ ยิ่งขึ้น
ก. ประสบ - รสชาติ
ข. ประสบ - รสชาด
ค. ประสพ - รสชาติ
ง. ประสพ - รสชาด

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ มีช่องให้คำคำ 2 ช่อง มีคำ 2 ชุด คือ ประสบ กับ ประสพ  และ รสชาติ กับ รสชาด ที่เรารู้จักคำใดคำหนึ่งก็จะทำให้สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้แคบเข้า
ถ้ารู้จักทั้ง 2 คำ ก็ยิ่งง่ายขึ้น
สำหรับผมเองส่วนตัวผมรู้ว่า คำว่า “รสชาติ” เป็นคำที่ถูกต้องในความหมายดังกล่าว คำว่า “รสชาด” เป็นคำที่คนชอบเขียนผิดกันในความหมายของคำว่า “รสชาติ
ดังนั้น ผมจึงตัดข้อ ข. กับ ข้อ ค. ออกไป หรือเพียง ข้อ ก กับ ข้อ ค. ดังนี้
ข้อ ก.  ความผิดหวังที่ไดประสบ าง ทําใหชีวิตมี รสชาติ ยิ่งขึ้น
ข้อ ค.  ความผิดหวังที่ไดประสพ  าง ทําใหชีวิตมี รสชาติ ยิ่งขึ้น
สำหรับคำว่า “ประสบ กับ ประสพ” ผมยอมรับว่า ตัดสินยาก เพราะ เป็นคำที่ถูกต้องทั้งคู่ ไม่ใช่เป็นคำเขียนผิด แต่ความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

ประสบ ความหมาย ก. พบ, พบปะ, พบเห็น.
ประสพ ความหมาย [ปฺระ สบ] น. การเกิดผล. (ส. ปฺรสว; ป. ปสว).


ดังนั้น ข้อนี้ ข้อที่ถูกคือ ข้อ ก.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น