บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการเติมคำ ชุดที่ 2


ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

1. หมอมีหนาที่ ............... โรคแกคนไข
ก.  ขจัด
ข.  กําจัด
ค.  บําบัด
ง.  รักษา

2. กรมศาสนามีคําสั่งหามพระภิกษุออก .............. ตามบาน
ก.  สะสม
ข.  เรี่ยไร
ค.  ทําบุญ
ง.  บอกบุญกุศล

3. งานตอนรับนองใหมนี้จัดอยางใหญโต .................
ก.  รโหฐาน
ข.  พิสดาร
ค.  มหึมา
ง.  มโหฬาร

4.  ตํารวจสงสัยวา อาจมีผูาย .............. อยูในคนกลุมนี้
ก.  แฝง
ข.  ซอน
ค.  แอบแฝง
ง.  ซุกซอน

5. ผูดียอมไมดูถูก ................. คนจน  แตควรจะใหความชวยเหลือเขาเทานั้น
ก. ย่ำยี
ข. เหยียดหยาม
ค. เยาะเย
ง. เหยียบย่ํา


เฉลย

1. หมอมีหนาที่ ............... โรคแกคนไข
ก.  ขจัด
ข.  กําจัด
ค.  บําบัด
ง.  รักษา

วิเคราะห์
ข้อนี้ โจทย์ไม่ยาวนัก เมื่อลองอ่านดูแล้ว ที่เห็นว่า ผิดชัดๆ คือ ข้อ ก. กับ ข้อ ข. ดังนี้
ข้อ ก.  หมอมีหนาที่ ขจัด โรคแกคนไข
ข้อ ข.  หมอมีหนาที่ กําจัด โรคแกคนไข้

ข้อที่มีโอกาสจะถูกมี 2 ข้อ คือ ข้อ ค. กับ ข้อ ง. ดังนี้
ข้อ ค.  หมอมีหนาที่ บำบัด โรคแกคนไข
ข้อ ง.  หมอมีหนาที่ รักษา โรคแกคนไข้

กรณีอย่างนี้ ต้องพึ่งพจนานุกรม

บำบัด ก. ทําให้เสื่อมคลาย เช่น บําบัดทุกข์, ทําให้ทุเลาลง เช่น บําบัดโรค.
รักษา ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่นรักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยาเช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).

คำตอบของข้อนี้ ผมว่า คนส่วนใหญ่ต้องเลือกข้อ ง. เพราะ เราได้ยินสำนวนภาษานี้ อยู่เป็นประจำ แต่จะเห็นว่า ไม่ถูกหลักการใช้ภาษา 
ถ้าตามหลักภาษาไทย แล้วจะต้องเป็น “หมอมีหนาที่ บำบัด โรคแกคนไข
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.

2. กรมศาสนามีคําสั่งหามพระภิกษุออก .............. ตามบาน
ก.  สะสม
ข.  เรี่ยไร
ค.  ทําบุญ
ง.  บอกบุญกุศล

วิเคราะห์
ข้อสอบข้อนี้ค่อนข้างง่าย เพราะ มีกฎหมายออกมาและมีข่าวตามสื่อมวลชนเสมอว่า “ห้ามพระเรี่ยไรตามบ้าน”
ดังนั้น ข้อถูกสำหรับโจทย์ข้อนี้ คือ ข้อ ข.
สมมุติว่า เราไม่ได้ยินข่าวอย่างนั้นมาก่อน ก็ต้องลองนำคำไปใส่ในช่องว่าง ดูดังนี้

ข้อ ก. กรมศาสนามีคําสั่งหามพระภิกษุออก สะสม ตามบาน
ข้อ ข. กรมศาสนามีคําสั่งหามพระภิกษุออก เรี่ยไร ตามบาน
ข้อ ค. กรมศาสนามีคําสั่งหามพระภิกษุออก ทําบุญ ตามบาน
ข้อ ง. กรมศาสนามีคําสั่งหามพระภิกษุออก บอกบุญกุศล ตามบาน

ความหมายของ ข้อ ก. ผิดแน่ๆ เพราะ ไม่ได้ความหมายใดๆ สำหรับ ข้อ ค. นั้น ก็ไม่น่าจะถูก ถึงจะมีความแปลกๆ เพราะ กรมศาสนาไม่ได้ห้ามอย่างนั้น
ข้อความที่ควรจะนำมาเลือกก็คือ “ห้ามพระภิกษุออก เรี่ยไร ตามบาน” กับ “หามพระภิกษุออก บอกบุญกุศล ตามบาน
อย่างไรก็ดี  การบอกบุญกุศลตามบ้านนั้น กรมศาสนาไม่ได้ห้ามไว้  ห้ามเฉพาะการเรี่ยไรเท่านั้น

3. งานตอนรับนองใหมนี้จัดอยางใหญโต ................
ก.  รโหฐาน
ข.  พิสดาร
ค.  มหึมา
ง.  มโหฬาร

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ ค่อนข้างง่าย เพราะ เป็นสำนวนที่คุ้นเคยกันดี  ลองเอาเฉพาะสำนวนมาเรียงกันดู

ก.  ใหญโตรโหฐาน
ข.  ใหญโตพิสดาร
ค.  ใหญโตมหึมา
ง.  ใหญโตมโหฬาร

จะเห็นว่า สำนวน 3 สำนวนแรก อ่านแล้วไม่สนิทหู คือ ไม่มีใครใช้อย่างนั้นมาก่อน ดังนั้น สำนวนที่ถูกต้องก็คือ “ใหญ่โตมโหฬาร
ดังนั้น ข้อถูกสำหรับนี้ คือ ข้อ ง.

4. ตํารวจสงสัยวา อาจมีผูาย .............. อยูในคนกลุมนี้
ก.  แฝง
ข.  ซอน
ค.  แอบแฝง
ง.  ซุกซอน

วิเคราะห์
ตัวเลือกของข้อนี้ มีคำสำคัญ 2 คำคือ “ซ่อน” กับ “แฝง”  ผู้ออกข้อสอบเอาคำว่า “ซุกซ่อน” กับ “แอบแฝง” มาเพิ่มเป็นตัวลวง
คำทั้ง 4 คำนั้น มีความหมายใกล้เคียงกันมาก ดังนี้

ซ่อน ก. แอบ, แอบแฝง, ปิดบัง, หลบไว้ในที่ลับตา.
ซุกซ่อน ก. ซ่อนไว้ในที่มิดชิดหรือที่ลี้ลับ.;
แฝง ก. หลบ แอบ ซ่อน เร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง. ว. เคลือบคลุม, ที่ซ่อนเร้น เช่น ความร้อนแฝง.
แอบแฝง ก. ซ่อนเร้น.

จากข้อความในโจทย์ คำว่า “ซ่อน” กับ “ซุกซ่อน” ไม่เหมาะสมสำหรับความหมายแน่ๆ ดังนั้น ระหว่างคำว่า “แฝง” กับ “แอบแฝง” จึงน่าจะเป็นคำตอบที่ถูก
เรามาลองเรียงคำดู ดังนี้ 
ข้อ ก.  ตํารวจสงสัยวา อาจมีผูาย แฝง อยูในคนกลุมนี้
ข้อ ข.  ตํารวจสงสัยวา อาจมีผูาย แอบแฝง อยูในคนกลุมนี้
เมื่ออ่านดูแล้ว เห็นว่า ความหมายของ ข้อ ก. ถูกต้องตามพจนานุกรมและสำนวนดูรื่นไหลมากกว่าของ ข้อ ข.
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.

5. ผูดียอมไมดูถูก ............... คนจน แตควรจะใหความชวยเหลือเขาเทานั้น
ก. ย่ํายี
ข. เหยียดหยาม
ค. เยาะเย
ง. เหยียบย่ํา

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ ค่อนข้างง่าย เพราะ เป็นสำนวนที่คุ้นเคยกันดี  ลองเอาเฉพาะสำนวนมาเรียงกันดู

ก.  ดูถูกย่ำยี
ข.  ดูถูกเหยียดหยาม
ค.  ดูถูกเยาะเย
ง.  ดูถูกเหยียบย่ํา

จะเห็นว่า สำนวน ดูถูกย่ำยี ดูถูกเยาะเย ดูถูกเหยียบย่ํา ไม่ค่อยคุ้นหูนัก  สำนวนที่คุ้นหูก็คือ “ดูถูกเหยียดหยาม

ดังนั้น ข้อนี้ ข้อที่ถูกคือ ข้อ ข.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น